การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน

การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอกองค์กร เป็นสิ่งที่การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ให้ความสำคัญในมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการ ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความพึงพอใจ ความไว้วางใจ ความผูกพัน และสนับสนุน MEA ในระยะยาว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืน


ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นิยาม

1. กลุ่มลูกค้า

ผู้ใช้ไฟฟ้าและบริการทั้งธุรกิจหลักและธุรกิจเกี่ยวเนื่องในพื้นที่จำหน่ายและนอกพื้นที่จำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง

2. กลุ่มสังคมชุมชน

กลุ่มคนในสังคมที่ได้รับผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบจาก       การดำเนินงานของการไฟฟ้านครหลวง และประชาชนทั่วไป

3. กลุ่มผู้กำกับนโยบายและคณะกรรมการ MEA     

หน่วยงานภาครัฐ/องค์กรอิสระ/คณะกรรมการการไฟฟ้า-     นครหลวง ผู้มีอำนาจในการกำหนดทิศทาง นโยบาย อนุมัติ อนุญาต สนับสนุนการดำเนินงานของการไฟฟ้านครหลวง

4. กลุ่มพันธมิตร

(คู่ค้า/คู่ความร่วมมือ)

ผู้ส่งมอบพลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์และบริการสำหรับธุรกิจ จำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และภารกิจของการไฟฟ้า-    นครหลวง หรือผู้ร่วมมือในภารกิจของการไฟฟ้านครหลวง      ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรคู่เทียบและบริษัทในเครือ

5. กลุ่มสื่อมวลชน

สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำเสนอข้อมูลและข่าวสารไปสู่มวลชน รวมทั้งนักวิชาการ/NGO/      ผู้นำความคิด (Influencer) ที่ได้นำเสนอมุมมองด้านสังคม   และสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของการไฟฟ้า-นครหลวง ต่อสังคม

6. กลุ่มพนักงานและลูกจ้าง

ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง พนักงานจ้างเหมาบริการของ        การไฟฟ้านครหลวง และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้า-นครหลวง


นโยบายด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การไฟฟ้านครหลวง มุ่งมั่นสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ควบคู่กับการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าที่มั่นคงและคุณภาพการบริการ โดยการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การไฟฟ้านครหลวงให้ความสำคัญต่อการรับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยยึดหลักปฏิบัติบนพื้นฐานความเป็นธรรม เสมอภาค และคำนึงถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังกล่าวตามกฎหมาย หรือตามข้อตกลงที่มีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกำกับดูแลให้มีกลไกและการปฏิบัติที่เหมาะสมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ของการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

MEA กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

  1. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก และลดผลกระทบเชิงลบ ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  2. เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและก่อให้เกิดการบูรณาการเข้ากับการบริหารจัดการในทุกระดับเพื่อพัฒนาการดำเนินกิจการ ลดความเสี่ยง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

ขอบเขตการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ MEA

MEA การบริหารจัดการกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญของ MEA เพื่อสร้างความผูกพันและการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยกำหนดขอบเขตและความรับผิดชอบให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ทั้ง 6 กลุ่ม รวมทั้งความรับผิดชอบในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้








คู่มือการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการไฟฟ้านครหลวง

MEA ได้นำ AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) โดย AccountAbility ซึ่งเป็นมาตรฐานว่าด้วยกระบวนการเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับความนิยมและการยอมรับในระดับสากล มาใช้เป็นกรอบแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีขั้นตอนตั้งแต่ การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การระบุประเด็นระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการจัดทำแผนบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์การสร้างการมีส่วนร่วม ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นำแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ การติดตามประเมินผล และการประเมินผลความผูกพันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการไฟฟ้านครหลวง (Engagement Score) เพื่อนำผลการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงกระบวนการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในปีถัดไป เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการพัฒนาการไฟฟ้านครหลวง เพื่อยั่งยืนอย่างต่อเนื่องต่อไป


แผนยุทธศาสตร์ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2566-2570 (ทบทวน ณ ปี 2566)


ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปี 2566


รายงานผลการสร้างความสัมพันธ์/การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย