อ้างอิงไปยังเซลล์ในสูตร
ทุกตารางจะมีแถบอ้างอิงซึ่งระบุแต่ละเซลล์ในตาราง แถบอ้างอิงจะอยู่ที่ด้านบนสุดของแต่ละคอลัมน์ โดยประกอบด้วยตัวอักษรของคอลัมน์ (ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร "A") และที่ด้านซ้ายของแต่ละแถวจะประกอบด้วยตัวเลขของแถว (ตัวอย่างเช่น "3") สามารถอ้างอิงเซลล์ แถว หรือคอลัมน์ได้โดยใช้ค่าในแถบอ้างอิง
คุณสามารถใช้การอ้างอิงเซลล์เพื่อระบุเซลล์ที่มีค่าที่คุณต้องการใช้ในสูตรได้ คุณสามารถอ้างอิงไปยังเซลล์ในตารางเดียวกันในลักษณะของเซลล์สูตร หรือ (ใน Numbers) ในตารางอื่นในแผ่นงานเดียวกันหรือแผ่นงานอื่น
รูปแบบสำหรับการอ้างอิงเซลล์
การอ้างอิงเซลล์มีรูปแบบต่างๆ กัน โดยขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ เช่น ตารางเซลล์มีหัวตารางหรือไม่ หรือคุณอ้างอิงไปยังเซลล์เซลล์เดียวหรือช่วงของเซลล์ และอื่นๆ ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาสรุปของรูปแบบที่คุณสามารถใช้สำหรับอ้างอิงเซลล์
ในการอ้างอิงไปยัง | ให้ใช้รูปแบบนี้ | ตัวอย่าง |
---|---|---|
เซลล์ใดๆ ในตารางที่ประกอบด้วยสูตร | ตัวอักษรแถบอ้างอิงตามด้วยตัวเลขแถบอ้างอิงของเซลล์นั้น | ‘C55’ จะอ้างอิงถึงแถวที่ ‘55’ ในคอลัมน์ที่สาม |
เซลล์ในตารางที่มีแถวหัวตารางและคอลัมน์หัวตาราง | ชื่อคอลัมน์ตามด้วยชื่อแถว | ‘2006 Revenue’ จะอ้างอิงไปยังเซลล์ที่มีแถวหัวตารางประกอบด้วย 2006 และคอลัมน์หัวตารางประกอบด้วย Revenue |
เซลล์ในตารางที่มีหลายแถวหัวตารางหรือหลายคอลัมน์หัวตาราง | ชื่อของหัวตารางที่มีคอลัมน์หรือแถวที่คุณต้องการอ้างอิงไปยัง | ถ้า 2006 เป็นหัวตารางที่ขยายสองคอลัมน์ (Revenue และ Expenses) ‘2006’ จะอ้างอิงไปยังเซลล์ทั้งหมดในคอลัมน์ Revenue และ Expenses |
ช่วงระยะของเซลล์ | เครื่องหมายทวิภาค (:) ระหว่างเซลล์แรกและเซลล์สุดท้ายในช่วงระยะ โดยใช้เครื่องหมายแถบอ้างอิงเพื่อระบุเซลล์ | ‘B2:B5’ อ้างอิงไปยังเซลล์สี่เซลล์ในคอลัมน์ที่สอง |
เซลล์ทั้งหมดในแถว | ชื่อแถวหรือเลขแถว:เลขแถว | ‘1:1’ อ้างอิงไปยังเซลล์ทั้งหมดในแถวแรก |
เซลล์ทั้งหมดในคอลัมน์ | ตัวอักษรหรือชื่อของคอลัมน์ | ‘C’ อ้างอิงไปยังเซลล์ทั้งหมดในคอลัมน์ที่สาม |
เซลล์ทั้งหมดในช่วงระยะของแถว | เครื่องหมายทวิภาค (:) ระหว่างเลขแถวหรือชื่อของแถวแรกและแถวสุดท้ายในช่วงระยะ | ‘2:6’ อ้างอิงไปยังเซลล์ทั้งหมดในห้าแถว |
เซลล์ทั้งหมดในช่วงระยะของคอลัมน์ | เครื่องหมายทวิภาค (:) ระหว่างตัวอักษรหรือชื่อของคอลัมน์แรกและคอลัมน์สุดท้ายในช่วงระยะ | ‘B:C’ อ้างอิงไปยังเซลล์ทั้งหมดในคอลัมน์ที่สองและสาม |
ใน Numbers เซลล์ในตารางอื่นที่อยู่บนแผ่นงานเดียวกัน | ถ้าชื่อเซลล์เป็นเอกลักษณ์ในสเปรดชีตแล้ว จะต้องการเพียงแค่ชื่อเซลล์เท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะต้องการชื่อตารางตามด้วยเครื่องหมายทวิภาคสองตัว (::) จากนั้นตามด้วยตัวระบุเซลล์ | ‘Table 2::B5’ อ้างอิงไปยังเซลล์ B5 ในตารางที่ชื่อ Table 2 Table 2::2006 Class Enrollment อ้างอิงไปยังเซลล์โดยใช้ชื่อ |
ใน Numbers เซลล์ในตารางที่อยู่บนแผ่นงานอื่น | ถ้าชื่อเซลล์เป็นเอกลักษณ์ในสเปรดชีตแล้ว จะต้องการเพียงแค่ชื่อเซลล์เท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะต้องการชื่อตารางตามด้วยเครื่องหมายทวิภาคสองตัว (::) ชื่อตาราง ทวิภาคอีกสองตัว จากนั้นตามด้วยตัวระบุเซลล์ | ‘Sheet 2::Table 2::2006 Class Enrollment’ อ้างอิงไปยังตารางชื่อ Table 2 ในแผ่นงานชื่อ Sheet 2 |
ใน Numbers เมื่อคุณอ้างอิงเซลล์ในหัวตารางแบบหลายแถวหรือหลายคอลัมน์ จะใช้ชื่อในเซลล์หัวตารางที่อยู่ใกล้กับเซลล์ที่อ้างอิง ตัวอย่างเช่น ถ้าตารางมีแถวหัวตารางสองแถว และ B1 ประกอบด้วย "Dog" และ B2 ประกอบด้วย "Cat" เมื่อคุณบันทึกสูตรที่ใช้ "Dog" จะบันทึก "Cat" แทน อย่างไรก็ตามถ้า "Cat" แสดงในเซลล์หัวตารางอื่นในสเปรดชีต จะใช้ "Dog" ตามเดิม
จำแนกการอ้างอิงเซลล์แบบสัมบูรณ์ออกจากแบบสัมพัทธ์
คุณสามารถใช้การอ้างอิงเซลล์แบบสัมบูรณ์และแบบสัมพัทธ์เพื่อบ่งบอกว่าคุณต้องการให้การอ้างอิงชี้ไปที่เซลล์ใดหากคุณคัดลอกหรือย้ายสูตร คุณยังสามารถใช้การผสมผสานระหว่างการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์และแบบสัมพัทธ์ได้อีกด้วย เช่น เพื่อสร้างผลรวมสะสม (ตัวอย่างเช่น =SUM($A$2:A2)
ในการระบุความสัมบูรณ์ของการอ้างอิงเซลล์ (หรือองค์ประกอบใดๆ ของการอ้างอิงเซลล์นั้น) ให้แตะหรือคลิกสามเหลี่ยมแสดงผลของการอ้างอิงเซลล์แล้วเลือกตัวเลือกจากเมนูที่แสดงขึ้น
ประเภทของการอ้างอิงเซลล์ | รายละเอียด |
---|---|
การอ้างอิงเซลล์เป็นแบบสัมพัทธ์ (A1) | การอ้างอิงเซลล์จะเป็นเหมือนเดิมเมื่อย้ายสูตรของการอ้างอิงเซลล์ อย่างไรก็ตามเมื่อตัดหรือคัดลอกสูตรแล้ววาง การอ้างอิงเซลล์จะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คงตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับเซลล์สูตร ตัวอย่างเช่น ถ้าสูตรที่ประกอบด้วย A1 แสดงอยู่ใน C4 และคุณคัดลอกสูตรแล้ววางลงใน C5 การอ้างอิงเซลล์ใน C5 จะเปลี่ยนเป็น A2 |
องค์ประกอบแถวและคอลัมน์ของการอ้างอิงเซลล์เป็นสัมบูรณ์ ($A$1) | การอ้างอิงเซลล์จะไม่เปลี่ยนเมื่อสูตรถูกคัดลอก ใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ ($) เพื่อกำหนดองค์ประกอบแถวหรือหรือคอลัมน์แบบสัมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น ถ้าสูตรที่ประกอบด้วย $A$1 แสดงอยู่ใน C4 และคุณคัดลอกสูตรแล้ววางลงใน C5 หรือ D5 การอ้างอิงเซลล์ใน C5 หรือ D5 จะยังคงเป็น $A$1 |
องค์ประกอบแถวของการอ้างอิงเซลล์เป็นสัมบูรณ์ (A$1) | องค์ประกอบคอลัมน์จะเป็นสัมพัทธ์และอาจเปลี่ยนแปลงได้เพื่อคงตำแหน่งเดิมไว้เมื่อเทียบกับเซลล์สูตร ตัวอย่างเช่น ถ้าสูตรที่ประกอบด้วย A$1 แสดงอยู่ใน C4 และคุณคัดลอกสูตรแล้ววางลงใน D5 การอ้างอิงเซลล์ใน D5 จะเปลี่ยนเป็น B$1 |
องค์ประกอบคอลัมน์ของการอ้างอิงเซลล์เป็นสัมบูรณ์ ($A1) | องค์ประกอบแถวจะเป็นสัมพัทธ์และอาจเปลี่ยนแปลงได้เพื่อคงตำแหน่งเดิมไว้เมื่อเทียบกับเซลล์สูตร ตัวอย่างเช่น ถ้าสูตรที่ประกอบด้วย $A1 แสดงอยู่ใน C4 และคุณคัดลอกสูตรแล้ววางลงใน C5 หรือ D5 การอ้างอิงเซลล์ใน C5 และ D5 จะเปลี่ยนเป็น $A2 |