generated from nicolas-van/bootstrap-4-github-pages
-
Notifications
You must be signed in to change notification settings - Fork 0
Commit
This commit does not belong to any branch on this repository, and may belong to a fork outside of the repository.
- Loading branch information
1 parent
4d15807
commit 7f1005c
Showing
2 changed files
with
53 additions
and
0 deletions.
There are no files selected for viewing
This file contains bidirectional Unicode text that may be interpreted or compiled differently than what appears below. To review, open the file in an editor that reveals hidden Unicode characters.
Learn more about bidirectional Unicode characters
Original file line number | Diff line number | Diff line change |
---|---|---|
@@ -0,0 +1,53 @@ | ||
--- | ||
title: "การตัดสินคดีผิดในสหราชอาณาจักร เหตุเพราะแพทย์เรียนสถิติมาไม่พอ" | ||
tags: Technology | ||
cardimage: "images/sally-clark.webp" | ||
--- | ||
|
||
เรื่องนี้เป็นเรื่องของ Sally Clark แม่ผู้ถูกตัดสินว่าได้ฆ่าลูกอ่อนของตัวเองทั้งสองเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1999 | ||
|
||
เธอสูญเสียลูกชายของเธอไปคนแรกเมื่อเดือนธันวาคม 1996 ในขณะที่ลูกชายของเธอมีอายุได้เพียงไม่กี่สัปดาห์ ความทุกข์ใจของเธอสาหัส ต่อมาเธอก็ตัดสินใจมีลูกคนที่สอง ซึ่งเป็นลูกชายเช่นกัน แต่ลูกชายคนที่สองของเธอก็ตายเมื่อเดือนมกราคม 1998 ด้วอายุเพียงไม่กี่สัปดาห์เช่นเดียวกับคนแรก | ||
|
||
เรื่องนี้ทำให้เธอถูกขึ้นศาลในฐานะที่เธอนั้นเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆ่าลูกชายทั้งสอง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ท่าน Sir Roy Meadow ที่รับหน้าที่เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ (expert witness) ก็ได้กล่าวหาเธอทันทีว่าน่าจะเป็นผู้ที่กระทำการโหดเหี้ยมดังกล่าว | ||
|
||
เขาอ้างว่า (ด้วยสถิติที่เรียนมาตั้งแต่อยู่ ม.2 - อันนี้คิดเอง) โรคที่ทำให้เด็กทั้งสองตายนั้น ซึ่งทางฝ่ายจำเลยได้อ้างว่าน่าจะเป็น sudden infant death syndrome (SIDS) มีโอกาสที่จะเกิดกับเด็กทารกแรกเกิดเพียง 1/8500 เท่านั้น เพราะฉะนั้นหากเด็กทารกสองคนเกิดมาแล้วมีโรคดังกล่าวเหมือนกัน แสดงว่าโอกาสที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือ | ||
|
||
(1/8500)^2 = 1/73000000 | ||
|
||
ซึ่งต่อมา ในปี 2001 ทางราชสมาคมสถิติของอังกฤษ (Royal Statistical Society) ก็ออกมาโต้ว่า สถิติดังกล่าวนั้นเป็นสถิติไม่มีหลักการเอาเสียเลย และเป็นการใช้สถิติแบบผิดหลักการอย่างมากในวงการยุติธรรมแห่งสหราชอาณาจักร | ||
|
||
# เรื่องแรก – เหตุการณ์ทั้งสองไม่ได้เป็นอิสระต่อกัน | ||
|
||
(ถ้า Sir Roy Meadow ตั้งใจเรียนตอนอยู๋โรงเรียนกว่านี้ เขาน่าจะรู้ว่า - คิดเอง) กฎการคูณที่จะใช้หาโอกาสในการเกิดเหตุการณ์นั้น เหตุการณ์ทั้งสองต้องเป็นอิสระต่อกัน คือความน่าจะเป็นที่ลูกคนแรกจะตายจากโรค จะต้องเป็นอิสระไม่ขึ้นกับความน่าจะเป็นที่ลูกคนที่สองจะตายจากโรคเดียวกัน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่จริงอยู่แล้ว เพราสาเหตุทางพันธุกรรม ฯลฯ ก็มีผลเกี่ยวเนื่องกันมา | ||
|
||
# เรื่องที่สอง – แพทย์ไม่รู้จัก Bayes’ Rule | ||
|
||
(ถ้า Sir Roy Meadow ตั้งใจเรียนสถิติตอนอยู่ปีหนึ่ง แทนที่จะเอาเวลาไปทุ่มเรียนแต่ชีวะ เขาน่าจะรู้ว่า - คิดเอง) โอกาสที่แม่จะเป็นผู้บริสุทธิ์แต่มีหลักฐาน หรือ P(บริสุทธิ์|มีหลักฐาน) กับโอกาสที่มีหลักฐานแต่แม่เป็นผู้บริสุทธิ์นั้น หรือ P(มีหลักฐาน|บริสุทธิ์) มีค่าไม่เท่ากัน ถ้าเขียนเป็นสมการก็น่าจะได้ประมาณนี้ คือ | ||
|
||
P(บริสุทธิ์|มีหลักฐาน) != P(มีหลักฐาน|บริสุทธิ์) | ||
|
||
โดยที่ถ้าเป็นศาล ค่าโอกาสที่อยากทราบคือ โอกาสที่แม่จะเป็นผู้บริสุทธิ์แต่มีหลักฐาน หรือ | ||
|
||
P(บริสุทธิ์|มีหลักฐาน) | ||
|
||
โดยถ้ามีค่าใกล้หนึ่ง แสดงว่าแม่ไม่น่าจะมีความผิด สมการของ Bayes จะออกมาหน้าตาประมาณนี้ คือ | ||
|
||
P(บริสุทธิ์|มีหลักฐาน) = P(มีหลักฐาน|บริสุทธิ์) * P(บริสุทธิ์)/P(มีหลักฐาน) | ||
|
||
โดยที่ถ้าใช้ Law of total probability จะได้ว่า | ||
|
||
P(มีหลักฐาน) = P(มีหลักฐาน|บริสุทธิ์) * P(บริสุทธิ์) + P(มีหลักฐาน|กระทำผิด) * P(กระทำผิด) | ||
|
||
หากลองคิดดู โอกาส P(กระทำผิด) ที่แม่ในสหราชอาณาจักรจะจิตใจอำมหิตฆ่าลูกอ่อนสองคนในเวลาที่ไล่เลี่ยกันนั้นมีโอกาสน้อยมาก เพราะฉะนั้นหากค่าของ P(กระทำผิด) เข้าใกล้ศูนย์ จะได้ว่า | ||
|
||
P(มีหลักฐาน) = P(มีหลักฐาน|บริสุทธิ์) * P(บริสุทธิ์) | ||
|
||
และทำให้ P(บริสุทธิ์|มีหลักฐาน) มีค่าเข้าใกล้หนึ่ง | ||
|
||
ประเด็นปัญหาของความเข้าใจผิดทางสถิตินี้คือ ถึงแม้ว่าโอกาสที่ P(มีหลักฐาน|บริสุทธิ์) หรือโอกาสที่ลูกทั้งสองของแม่คนเดียวกันจะมีโรค SIDS พร้อมกันจะมีค่าน้อยมาก ๆ แต่โอกาสที่ P(บริสุทธิ์) ของเธอก็มีมากเช่นกัน ดังนั้นการจะด่วนสรุปว่า P(บริสุทธิ์|มีหลักฐาน) จะน้อยเพราะว่า P(มีหลักฐาน|บริสุทธิ์) น้อยนั้นเป็นเรื่องที่ด่วนสรุปมากเกินไป | ||
|
||
# Aftermath | ||
|
||
หลังจากการยื่นอุทธรณ์ ศาลอังกฤษก็ได้พิจารณาตัดสินคดีนี้อีกครั้ง และทำให้ Sally Clark พ้นโทษในปี 2003 หลังจากที่เธอต้องเสียใจเกี่ยวกับการตายของลูกชายทั้งสองแล้ว เธอก็ต้องมาเสียใจอีกกับการที่ต้องอยู่ในเรือนจำนานถึงสี่ปี เมื่อออกมาจากคุกแล้วเธอก็กลายเป็นโรคซึมเศร้าอย่างหนัก ในปี 2007 เธอก็เสียชีวิตจากโรคติดสุราเรื้อรัง | ||
|
||
ส่วนแพทย์ Sir Roy Meadow นั้น ในปี 2005 แพทยสภาของอังกฤษก็ตัดสินใจยึดใบประกอบวิชาชีพ แต่ในเวลาต่อมาเขาก็ยื่นอุทธรณ์ และรอดจากการยึดใบประกอบวิชาชีพนี้ไปในคำตัดสินของศาลด้วยคะแนน 2:1 |
Binary file not shown.